วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 5 สิงหาคม 2556

สรุปการสอน

- รอบันทึกข้อความ

สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2556

สรุปการสอน

- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันหยุด "วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา"



"วันอาสาฬหบูชา" ประวัติและความเป็นมา

"วันเข้าพรรษา" ประวัติและความเป็นมา

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2556

สรุปการสอน

- แนะนำการบิรหารจัดการ Blogger การตั้งค่าและปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง การตั้งชื่อบล็อกโครงการต้องมี     ที่มาที่ไปหรือตั้ง   ให้เป็นชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้นๆเลย
- จัดทำข้อมูลพื้นฐานของการวิเคราะห์ ให้ครบถ่วนในทุกๆด้าน  แล้วโพสต์ลงบล็อก
- ย่ำการเก็บข้อมูลต้องละเอียด ครบทุกด้านเพื่อให้เอื่อต่อการวิเคราะห์ทางการมองที่สมบูรณ์
- ศึกษาโปรแกรม sketup เพื่อใช้ออกแบบนำเสนอเป็น3Dได้
- ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการพร้อมแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ไม่ถูกต้อง

การบ้าน

- ทบทวนโครงการ  ความคืบหน้าต้องเพิ่มขึ้น โดยศึกษาเพิ่มเติมได้จากไฟล์ที่อาจารย์แชร์ไว้ในไดร์ฟ


วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์

หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์

         ใน สมัยก่อนนั้น การใช้บรรจุภัณฑ์ก็เพื่อเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ (Protection) ในระยะเวลาหนึ่งหรือจนกว่าจะนำไปใช้ แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทในด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เริ่มเน้นเรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกในการนำไปใช้ บรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมีหน้าที่

1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือตามรูปร่างของภาชนะนั้น ๆ

2. ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยสภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลาในการเก็บรักษา สภาพการขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพลักษณะของสินค้าให้เหมือนเมื่อผลิตออกจากโรงงานให้มากที่ สุด

3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย
4. บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณ - ภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายใน คืออะไร ผลิตจาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วนประกอบ วันเวลาที่ผลิต วันเวลาที่ หมดอายุ การระบุข้อความสำคัญ ๆ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)

5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการเคลื่อนไหวทางด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้องทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้องดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจในการใช้ และหลังจากใช้แล้วเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีก หีบห่อจะทำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานขายเงียบ (Silent Salesman) ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจ และชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัวอักษร ฯลฯ

6. ช่วยเพิ่มผลกำไร หีบห่อจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อสามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาด โดยการเปิดตลาดใหม่หรือการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต

7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

8. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด

9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่งคุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อไม่ได้

10. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 9 กรกฎาคม 2556

สรุปการสอน

- ติดตามงานโครงการออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ตวจสอบความคืบหน้าของโครงการแต่ละกลุ่ม และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

- เตือนถึงการนำฟอนต์มาใช้ในการทำโครงการหรืองานที่เกี่ยวข้อง ควรระวังเรื่องของลิขสิทธิ์ และฟอนต์ทีสามารถนำมาใช้ได้นั้นคือฟอนต์ในตระกูล ซีอาร์ยู(CRU) และ TH สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.f0nt.com/

- ดาวโหลดโปรแกรม Box gen จากไฟล์ ส่งงานกลุ่ม ARTD3302 กลุ่ม101ในไดรฟ์ จะช่วยให้สร้างแบบของกล่องของบรรจุภัณฑ์ จะมีอยู่หลายแบบหายขนาดด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการออกแบบกราฟิกลงไปได้เลยช่วยให้เห็นภาพของผลงานการออกแบบที่เท่าขนาดจริงได้เลย ดาวโหลดโปรแกรม https://drive.google.com/?tab=To&authuser=0#folders/0B5SalqXmKWg-a0lQMUJNcTdBQ28

- การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ นั้นต้องครอบคุมในทุกๆด้าน และเน้นการนำเสนอด้วยสื่อ

- ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์

การบ้าน

- ทบทวนโครงการและจัดทำให้สมบูรณ์
- ทำบอร์ดเสนอโครงการ
- ดำเนินโครงการขั้นต่อไป คิด idea concept ของการออกแบบอย่างน้อย 3 ทางเลือก


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม 2556

สรุปการสอน

     -แนะนำโปรแกรมเครื่องมือที่เกี่ยวเนื่องกันการศึกษาและการทำงาน คือ FastStone Photo Resizer เพื่อใช้แก้ไขไฟล์ภาพ ขนาด ใส่ชื่อ บรรยายภาพหรือแสดงที่มาของภาพ ใส่ลายน้ำเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องของการการนำรูปมาใช้ในการบันทึกข้อมูลรวมไปถึงนำเสนอผลงาน





     -แนะนำกระบวนการทำโครงการ และบอกถึงกระบวนการทำโครงการทำงานกระบวนการคิดวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งที่มาของข้อมล แล้วบอกถึงหลักในการคิดชื่่อโครงการ โดยยึดหลักการต่อไปนี้

V. Vvariabl       = ตัวแปรที่ศึกษา
P. Ppopuiation  =ประชากรที่ศึกษา
A.Area             =ขอบเขต
T.Time              =เวลา/ปี

     -ควรศึกษาความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ต่อตัวสินค้าและผู้ประกอบการ
.....................

การบ้าน

     -ตรวจสอบไฟล์รายงานโครงการออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สร้างบล็อกเพื่อเก็บข้อมูลและน้ำเสอนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

     -สรุปงานรายบุคคล จำนวน2หน้า โดยวิเคราะห์องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นั่นๆ โดยละเอียด พร้อมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป